วันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2558

พวงชมพู

หมวด:
ชั้น:
อันดับ:
วงศ์:
สกุล:
สปีชีส์:
Antigononleptopus
Antigononleptopus
Hook. &Arn.
[1]
พวงชมพู (Mexican creeper)

พวงชมพู

          พวงชมพูนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยปลูกลงในกระถางตั้งที่มีหลักสำหรับเกาะยึดเลื้อยขึ้น หรือปลูกลงในกระถางแขวนให้ห้อยลง หรือปลูกประดับตามริมขอบหน้าต่างและระเบียงก็ดูสวยงามไม่น้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Antigononleptopus  Hook &Arn.
ชื่อสามัญ :   Chain of love, Confederate Vine, Coral vine
วงศ์ :   Polygonaceae
ชื่ออื่น : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) พวงนาค (ภาคกลาง) หงอนนาค (ปัตตานี)






















ลักษณะทั่วไป ::

ต้น       พวงชมพูเป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาขนาดเล็ก มีมือเกาะสำหรับเกาะพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต ลำต้นหรือเถาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม

 ใบ        พวงชมพูเป็นไม้ใบเดี่ยว ดอกออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ หรือมนรี ค่อน ข้างจะเป็นทรงสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบมน เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักมนไม่แหลม แผ่นใบเป็ฯคลื่นไม่เรียบ ใบมีความยาว ประมาณ 7 เซนติเมตร และมีความกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร


ดอก    พวงชมพูออกดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบ ง่ามกิ่งและปลายยอด ส่วนปลายยอดสุดจะเป็นมือเกาะ ดอกสีชมพูสดใสในกลุ่ม ดอกจะประกอบด้วยช่อดอก เรียงดอกสลับทางติดกันอยู่อย่างหนาแน่น ลักษณะรูปร่างของดอกมีทรงคล้ายผอบรูปหัวใจ ดอกมีขนาดเล็ก คือ สักประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกพวงชมพู มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกที่คล้ายกัน ดอกกลุ่มหนึ่ง ๆ ของพวงชมพู อาจจะชูเป็นช่อตั้ง หรืออาจจะห้อยเป้ฯพวงระย้าลงก็ได้ ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร



การปลูกและขยายพันธุ์

          พวงชมพูขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอน และการปักชำกิ่งวิธีการปลูกพวงชมพู โดยการนำเอากิ่งที่ได้จากปักชำมาปลูกลงดิน เนื่องจากกิ่งที่ได้จากการปักชำ จะทำให้ได้ต้นกล้าที่เร็วกว่าการเพาะเมล็ด การปลูกก็ให้ปลูกลงดิน เพราะไม้เถาเลื้อยบางชนิดนั้นไม่เหมาะที่จะปลูกลงกระถางสวย ๆ ได้ ควรปลูกพวงชมพูบริเวณริมกำแพง หรือริมรั้ว หรืออาจจะปลูกเป็นซุ้มประตู หรือทำซุ้มหลังคา กระเช้านั่งเล่นในวนภายในบ้านก็จะดูสวยงามดี เพราะเมื่อยามที่พวงชมพูออกดอกบานสะพรั่ง มีดอกห้อยเป็นระย้าลงมา ก็จะทำให้ได้ภาพที่น่าชมมากทีเดียว

การดูแลรักษา

 แสง    พวงชมพูเป็นไม้กลางแจ้งที่มีความต้องการแสงแดดมาก เพราะฉะนั้นควรปลูกพวงชมพูในบริ  เวณที่มีแสงแดดส่องได้ถึง หรือต้นพวงชมพูสามารถได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่

 น้ำ      
พวงชมพูมีความต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำควรรดน้ำวันละ 1-2 ครั้ง โดยการดน้ำแต่ละครั้งจะต้องรดให้ชุ่ม แต่ต้องไม่แฉะมากนัก เพราะหากรดน้ำจนดินแฉะมาก พืชดูดน้ำไปใช้ไม่ทัน อาจจะทำให้รากพืชเน่าและตายได้ในที่สุด

 ดิน     
พวงชมพูเป็นไม้ที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ที่มีความชื้นอยู่พอสมควร

 ปุ๋ย      
ควรให้ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยไนโตรเจน เพื่อเสริมให้พงชมพูเจริญงอกงามได้ดีขึ้น และให้ดอกที่สวยงาม

สรรพคุณทางสมุนไพร

          ราก และเถา  สามารถใช้เป็นยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ  โดย ใช้เถา 1 กำมือ หรือราก 1/2 กำมือ ต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 3 ช้อนแกง ก่อนนอน











วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

เล็บมือนาง (Rangoon creeper)


หมวด:
ชั้น:
อันดับ:
วงศ์:
สกุล:
สปีชีส์:
indica
Quisqualisindica
Linn.

ต้นเล็บมือนาง

            มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนทั่วไป โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง เลื้อยพาดพันไปกับต้นไม้อื่น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด การตอนกิ่ง หรือเอาเง้าไปปลูกก็ได้ แต่ต้องฝักให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินปนทรายหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี เติบโตได้เร็ว และจะเลื้อยขึ้นเป็นพุ่มตามร้านที่เตรียมไว้ให้

ชื่อวิทยาศาสตร์: QuisqualisIndica 
ชื่อวงศ์   :    COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ:   Rangoon Creeper

ชื่ออื่นๆ : เล็บนาง, จะมั่ง, ไม้หม่อง














ลักษณะทั่วไป 

ต้น        เล็บมือนางเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง มีขนาดกลาง มึความสูงประมาณ 5 เมตร จะแตกกิ่งก้านสาขามากจนหนาทึบ และตามลำต้นหรือบริเวณกิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาลอมเทาขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณแต่บริเวณ ต้นหรือกิ่งที่แก่แล้วผิวของต้นหรือกิ่งจะเกลี้ยงไม่มีขน หรือบางทีขนก็กลายไปเป็นหนามการปลูกจะต้องหาหลักยึด หรือร้านให้ลำต้น หรือเถาเล็บมือนางยึดเกาะ


ใบ        เล็บมือนางเป็นไม้ใบเดี่ยว จะออกใบตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบจะเป็ฯรูปมน ขอบใบขนาน ปลายใบแหลม หรือปลายใบมนแล้วมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ แต่บางใบก็จะเป็นคลื่นเนื้อใบจะบาง


ดอก        เล็บมือนางจะออกดอกเป็ฯช่อ อยู่บริเวณส่วนกลางยอดของลำต้นดอกจะมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน



ผล        ผลเป็นผลแห้งและแข็ง ลักษณะของผลเป็นรูปกระสวย มีสัน 5 สันตามยาว ผลมีขนาดโตประมาณ 0.5 นิ้ว และยาวประมาณ 1.5 นิ้ว ผลสุกเป็นสีน้ำตาลอมสีดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด



การปลูกและการขยายพันธุ์
            
              ต้นเล็บมือนางมีวิธีการปลูก การขยายพันธุ์ โดยวิธีการปักชำกิ่ง โดยให้นำเอากิ่งที่ได้จากการปักชำ มาปลูกลงดิน คนส่วนมากจะนิยมปลูกเล็บมือนางบริเวณรั้ว หรือซุ้มประตู หรือจจะปลุกตามสวนสาธารณะ ก็จะดูสวยงามดี

การดูแลรักษา ( 1 )
                ต้นเล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด เพราะหากได้รับแสงไม่เพียงพอจะทำให้ต้นเล็บมือนางไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร และดอกก็จะไม่สวยดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถเก็บความชื้นได้สูง ควรหาวัสดุคลุมดินช่วยด้วยและ ต้นเล็บมือนางมีความต้องการน้ำปานกลาง

การดูแลรักษา ( 2 )
แสง       ต้นเล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ที่ต้องการแสงมากพอสมควร เพราะหากได้รับแสงไม่เพียงพอก็จะเป็นผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ และจะทำให้ต้นเล็บมือนางไม่เจริญงอกงามเท่าที่ควร และดอกก็จะไม่สวย

น้ำ         เล็บมือนางมีความต้องการน้ำปานกลาง แต่หากเป็นในระยะแรกปลูก ควรรดน้ำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง โดยรดในช่วงเช้า หรือ 2 วัน ต่อ 1 ครั้ง ก็ยังได้

ดิน         เล็บมือนางเป็นไม้ที่ขึ้นง่าย ควรปลูกด้วยดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย         นอกจากใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ในการผสมดินปลูกแล้ว หากต้องการให้ต้นและใบเจริญงอกงามอย่งกว่านี้ ก็ควรรดด้วยยูเรีย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ในช่วงที่เล็บมือนางให้ดอกไม่ควรรดรูเรีย ควรที่จะงดการรดยูเรียไปเลย แล้วหันมาให้ปุ๋ยบำรุงดอกแทน

โรคและแมลง
              ต้นเล็บมือนางส่วนมาก จะไม่มีโรคและแมลงรบกวนมากนัก จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีในการ
รักษา และป้องกันกำจัด เพียงแต่ให้ทำลายใบหรือส่วนอื่น ๆ ของต้น ที่มีการร่วงหล่นลงมาอาจทำลายโดยการขุดหลุมฝัง

สรรพคุณทางสมุนไพร

ใบ         ตำพอกแก้บาดแผล  แก้อักเสบ หรือ ทาแก้แผลฝี     และถ้านำไปผสมกับสมุนไพร ชนิดอื่น ๆ   จะเป็นยาแก้ตัวร้อน   แก้ปวดหัว ถอนพิษ  แก้สารพัด  แก้กาฬ  แก้พิษสำแดง ของแสลง

เมล็ด    เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้  ถ้าเป็นผู้ ใหญ่ให้ใช้   57   เม็ด   ทุบให้แตกแล้วต้ม เอาน้ำดื่มทั้งต้น    
 แก้ตานขโมยพุงโร  ขับพยาธิและ ตานทราง

ผล           แก้อุจจาระเป็นฟอง  เหม็นคาวใน เด็ก  และขับพยาธิไส้เดือน  กินแล้วทำให้สะอึก

ราก      แก้อุจจาระเป็นฟอง  เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน   แต่ถ้าผสมกับสมุนไพรอื่น จะใช้แก้  ตานขโมย  แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง  แก้อุจจาระพิการ ริดสีดวง แก้ธาตุวิปริต แก้ตับทรุด  เจริญอาหาร







Morning Glory

หมวด:
ชั้น:
อันดับ:
วงศ์:
สกุล:
สปีชีส์:
I cairica
Ipomoea cairica
Sweet
·         Ipomoea palmata Forssk.
·         Ipomoea stipulacea Jacq.
·         Ipomoea tuberculata(Desr.) Roem. &Schult.

Morning Glory
          
         มอร์นิ่งกลอรี่เป็นไม้เถา ที่ได้ชื่อนี้เพราะดอกบานตอนเช้าที่มีแดดอ่อน และหุบตอนเที่ยงและบ่ายของวันที่แดดจัด แต่จะบานได้จนถึงเย็นในวันที่มีอากาศครึ้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์:: IpomoeaRorsfalliae. (L.) Roth.
ชื่อวงศ์ :: CONVOLVULACEAE
ชื่อสามัญ :: Morning Glory vine
ชื่ออื่นๆ ::   ผักบุ้งฝรั่ง , บ้องเลน มันหมู


































ลักษณะทั่วไป


ต้น        เป็นไม้เถาเลื้อยฤดูเดียว เถามีขนาดเล็ก ตามเถามีขนขึ้นปกคลุมจนทั่ว โดยเฉพาะบริเวณปลายยอด



 ใบ        เป็นไม้ใบเดี่ยว ใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบทั้ง 2 ข้างหรือใบเป็นรูปหัวใจ





 ดอก        ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรืออาจจะออกเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่ง ๆ จะมีประมาณ 5 ดอก รูปทรงของดอกจะคล้ายกับแตร หรือคล้ายดอกผักบุ้ง มีขนาดเล็กและมีความยาวประมาณ นิ้ว ดอกมีสีต่าง ๆ กัน เช่น สีม่วงอมน้ำเงิน หรือ สีม่วงปนขาว สีขาว สีแดง สีฟ้า สีชมพู



การปลูกและการขยายพันธุ์
          
          การปลูกและขยายพันธ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ด และชำกิ่ง โดยเฉพาะการชำกิ่งนั้นจะทำได้ง่ายเพราะ มอร์นิ่งกลอรี่จะมีรากงอกอยู่ตามแต่ข้อของลำต้นอยู่แล้ว เพียงแค่ตัดกิ่งที่สมบูรณ์ มีรากงอกอยู่เล็กน้อยนำมาปักลงกระถางรดน้ำให้ชุ่ม ตั้งในที่ร่มมีแสงพอประมาณ ไม่เกิน 2-3 สัปดาห์ รากก็จะงอกยาวพอที่จะนำไปลงปลูกได้แล้ว

การดูแลรักษา

แสง       มอร์นิ่งกลอรี่เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงมากพอสมควร

น้ำ        ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในระยะแรกปลูก แต่เมื่อต้นโตและแข็งแรงดีแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง เฉพาะในช่วงเช้าก็พอ

ดิน       เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุย หรือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย        
ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่บริเวณโคนต้นปีละ 2-3 ครั้ง โดยการพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นก่อน หากต้นไม้มีอาการใบร่วงหรือใบซีดเหลือง ให้รดด้วยยูเรีย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 2 เดือน

ตัวอย่างที่ปลูกในโรงเรียน